การขอสินเชื่อบ้านนั่นเราอาจเข้าใจว่าเมื่อผ่านแล้วก็ไม่ต้องใช้เงินสดอะไรแล้ว อันที่จริงแล้วมีค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินสดอยู่เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมเมื่อเข้าอยู่อาศัย
1. ค่าโอนบ้าน ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแก่กรมที่ดิน เมื่อต้องการโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดิน อันได้แก่ ค่าจดจำนอง 1% ของมูลค่าที่จำนอง (จำนวนเงินกู้ทั้งหมด) ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย ค่าอากร 0.5% ของราคาซื้อขาย ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ผู้ซื้อและผู้ขายควรทำข้อตกลงกันตั้งแต่ตอนตกลงซื้อขาย เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง ซึ่งเงินในส่วนนี้ต้องเตรียมเป็นเงินสด 2. ค่าจองและค่าส่วนกลาง บ้านหรือคอนโดบางโครงการจะเรียกเก็บค่าส่วนกลางล่วงหน้า บางที่จะเรียกเก็บประมาณ 1 ปี ซึ่งนับเป็นจำนวนเงินหลักหมื่น หากไม่เตรียมการไว้จะขาดสภาพคล่องแน่นอนเราจึงต้องเช็กค่าใช้จ่ายส่วนนี้กับทางโครงการก่อน และเก็บออมเงินก่อนตัดสินใจซื้อ 3. ค่าตกแต่งบ้าน บ้านที่ซื้อมา แม้หลายโครงการจะสมนาคุณด้วยการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ครบ พร้อมย้ายเข้าอาศัย แต่เ บางครั้งเรายังต้องต่อเติมบ้านให้เหมาะกับการอยู่อาศัยของเราอยู่ดี เราจึงควรเตรียมเงินสดสำรองส่วนนี้ไว้ ในระหว่างที่โครงการกำลังสร้าง เราอาจจะใช้เวลาช่วงนี้ เก็บเงินเพิ่มเติมเพื่อรอแต่งบ้านก่อนจะย้ายเข้าอยู่คะ 4. ค่าประกันอัคคีภัย ค่าประกันภัยพิบัติ เป็นประกันที่คุ้มครองความปลอดภัยของตัวบ้าน ในกรณีเกิดไฟฟ้าลัดวงจร แก๊สรั่ว ไฟไหม้ ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับว่าต้องทำครับ โดยยอดจะอยู่ที่ 0.1% ของราคาบ้าน ส่วนประกันภัยพิบัติเป็นทางเลือกเสริม ไม่ได้บังคับให้ทำ เพื่อป้องกันความสูญเสียอันเกิดจากอุทกภัย น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น โดยประกันส่วนนี้จะจ่ายค่าสินไหมชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านของเรา
5. ค่าประกันสินเชื่อบ้าน หรือประกันคุ้มครองหลักทรัพย์ ในกรณีผู้กู้เสียชีวิตหรือไม่สามารถชำระค่างวดบ้านต่อได้ วงเงินส่วนนี้จะคุ้มครองวงเงินที่บริษัทประกันจะชดใช้แก่ธนาคาร ไม่ตกเป็นภาระของคนในครอบครัว ประกันตัวนี้จะถูกนำเสนอพร้อมกับการทำสินเชื่อบ้าน โดยไม่บังคับว่าต้องทำ แต่อาจถูกนำเสนอในรูปแบบที่ว่าหากทำประกันตัวนี้จะลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ซึ่งยอดค่าทำประกันค่อนข้างสูง บางคนอาจมองว่าไม่จำเป็น แต่หากผู้กู้เป็นหัวหน้าครอบครัวก็ควรพิจารณาทำไว้คะ

ขอบคุณภาพและข้อมูลที่มา
krungsri.com
pexels.com